ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: อาหารสายยาง: อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ  (อ่าน 102 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 433
    • ดูรายละเอียด
อาหารสายยาง: อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ

การรับประทานอาหาร ถือเป็นเรื่องที่ต้องเอาใจใส่ให้มากเป็นพิเศษ เพราะอาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน ส่งผลต่อร่างกายซึ่งร่างกายมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารเพื่อให้เกิดพลังงานและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่ ยิ่งในผู้ป่วยแล้วอาหารถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะต้องดูแลเอาใจใส่และต้องระมัดระวังให้มาก เนื่องจากร่างกายผู้ป่วยมีความต้องการสารอาหารไม่เหมือนกับคนทั่วไป ผู้ป่วยบางกรณีอาจจะต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณของสารอาหารและอาจต้องมีการหลีกเลี่ยงสารอาหารบางประเภท เพื่อให้อาการป่วยไม่กำเริบขึ้นมา เพราะฉะนั้น อาหารสำหรับผู้ป่วยต้องมีการดูแลมากเป็นพิเศษ

แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้มีอาหารสำหรับผู้ป่วยมากมาย ยกตัวอย่างเช่น อาหารปั่นผสมที่ใช้ให้กับผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้หรือผู้ป่วยที่หมดสติที่ต้องให้อาหารทางสายยางและอาหารทางการแพทย์ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่ต้องมีการจำกัดในเรื่องของปริมาณสารอาหาร เพราะอาหารทางการแพทย์มีการจำกัดสูตรเพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆซึ่งก็จะมีสูตรที่แตกต่างกันเพราะผู้ป่วยในแต่ละโรคนั้นต้องได้รับสารอาหารในปริมาณจำกัดและแบบเฉพาะ สำหรับอาหารทางการแพทย์จะต้องใช้ในความควบคุมของแพทย์เท่านั้นและก่อนใช้จะต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์อย่างละเอียดเพื่อให้ร่างกายไม่เกิดอันตรายหลังจากได้รับอาหารทางการแพทย์ สำหรับวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องอาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจรวมไปถึงการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ป่วยเพื่อให้ร่างกายผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อเป็นแนวทางในการเลือกรับประทานอาหารอย่างถูกวิธี

อาหารทางการแพทย์ สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรได้รับสารอาหารที่เหมาะสมทั้งคุณภาพและปริมาณ รวมถึงต้องดูแลสุขภาพตนเองให้มีสุขภาพดีอยู่ตลอด เพราะจะช่วยป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หลีกเลี่ยงการเกิดโรคหัวใจได้ควรรับประทานอาหารให้เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน เพราะจะช่วยป้องกันการเก็บพลังงานที่เกินพอในรูปของไขมัน ทำให้ไม่เกิดโรคอ้วน และไม่ทำให้โรคหลอดเลือดหัวใจตามมาได้ สำหรับพลังงานที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวันอยู่ที่ประมาณ 1500 -2500 แคลอรี่ต่อวัน ความต้องการพลังงานในแต่ละวันของแต่ละคนนั้นก็จะมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะขึ้นอยู่กับ ขนาดของร่างกาย อายุ เพศ แต่สำหรับผู้ใหญ่ทั่วไปความต้องการพื้นฐานประมาณ 25 แคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อหนึ่งวัน แต่ถ้าหากผู้ที่มีการทำกิจกรรมหรือการทำงานหนักซึ่งต้องการมากกว่า โดยปริมาณคาร์โบไฮเดรตแต่ละวันประมาณ 45-65% ปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 10-25% และไขมันอยู่ที่ 20-35

ทั้งนี้ ควรบริโภคอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับการใช้พลังงานในแต่ละวันซึ่งการรับประทานอาหารจนได้รับพลังงานมากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะทำให้เกิดการสะสมของไขมันในร่างกายทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆตามมา โดยผู้ป่วยโรคหัวใจควรรับประทานโปรตีนที่มีประเภทไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ที่]อกหนัง เนื้อปลา โดยรับประทานโปรตีนร้อยละ 15-20 ของพลังงานที่ได้รับและรับประทานคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 50-60 ของพลังงานที่ได้รับ โดยควรเน้นเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนเช่น ข้าวซ้อมมือ หรือผลิตภัณฑ์จากข้าวที่ไม่ได้ขัดสี นอกจากนี้การรับประทานผลไม้และผักใบเขียวอาหารที่มีเส้นใยสูง ไฟเบอร์สูงเป็นประจำ ควรรับประทานอาหารที่มีเส้นใยประมาณ 27-37 กรัมต่อวัน เพราะในผักนอกจากจะมีวิตามินและเกลือแร่แล้วยังมีเส้นใยอาหาร ช่วยในเรื่องของการขับถ่ายและควรหลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด รวมไปถึงเม้แปรรูปทุกชนิดเพราะจะให้น้ำตาลและพลังงานที่มากจนเกินไป

อย่างที่ทราบกันดีว่าอาหารทางการแพทย์เป็นอาหารสูตรพิเศษ สำหรับความเจ็บปวดเฉพาะที่เป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมกับโรค แต่อาหารทางการแพทย์แม้ว่าจะมีประโยชน์ต่อร่างกายแต่ก็ไม่ได้มีจุดประสงค์ในการรักษาโรคโดยตรง แต่จะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาต่าง ๆ ซึ่งอาหารทางการแพทย์นั้นหากเราได้รับประทานเข้าไปแล้วจะไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ซึ่งในปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา แต่ถ้าหากร่างกายเรามีความปกติดี มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง รับประทานอาหารครบ 5 หมู่แล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้อาหารทางการแพทย์ แต่ถ้าหากมีความต้องการที่จะใช้อาหารทางการแพทย์ ก็ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการ

ซึ่งจะได้ทำการพิจารณาว่าควรเลือกใช้อาหารทางการแพทย์ชนิดใดและใช้ขนาดที่ใช้ต่อครั้งในปริมาณเท่าใด เพราะการใช้อาหารทางการแพทย์นั้นจะต้องมีการดูแลจากแพทย์และมีการติดตามผล เพื่อช่วยปรับภาวะทางโภชนาการให้เหมาะสมมากที่สุด โดยสารอาหารส่วนใหญ่ที่มีในอาหารทางการแพทย์หลัก ๆ คือคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ซึ่งจะถูกดัดแปลงให้สามารถย่อยได้ง่ายหรือบางชนิดอาจผ่านการย่อยแล้ว เพื่อให้ร่างกายของเราและดูดซึมได้เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว โดยอาหารทางการแพทย์นั้นนับว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยลดปัญหาการเกิดภาวะขาดสารอาหารได้ ไม่ว่าจะในผู้ป่วยผู้สูงอายุหรือบุคคลทั่วไปที่สามารถรับทานอาหารได้น้อย แต่ถ้าหากใช้อาหารทางการแพทย์อยากเหมาะสมและตามคำแนะนำของโภชนาการก็จะทำให้เกิดผลดีต่อร่างกายได้