ติดต่อลงโฆษณา racingweb@gmail.com

ผู้เขียน หัวข้อ: doctor at home: กลากน้ำนม (Pityriasis alba)  (อ่าน 500 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 435
    • ดูรายละเอียด
doctor at home: กลากน้ำนม (Pityriasis alba)
« เมื่อ: 22/09/24, 17:52:29 »
doctor at home: กลากน้ำนม (Pityriasis alba)

กลากน้ำนม เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบได้บ่อย พบมากในช่วงอายุ 3-16 ปี และพบได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เด็กที่มีอายุน้อยกว่านี้และผู้ใหญ่ก็อาจเป็นโรคนี้ได้

มักพบบ่อยในผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ และถือว่ากลากน้ำนมเป็นอาการแสดงรูปแบบหนึ่งของโรคนี้

อาการมักจะเป็นมากในหน้าร้อน หรือหลังตากแดดตากลม


สาเหตุ

เกิดจากเซลล์สร้างเม็ดสี (melanocyte) ที่ชั้นหนังกำพร้าไม่สามารถสร้างเม็ดสี (pigment) ได้ตามปกติ ทำให้ผิวหนังในส่วนนั้นกลายเป็นรอยด่างขาว แต่สาเหตุที่ทำให้เซลล์สร้างเม็ดสีเกิดความผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด เชื่อว่าอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การขาดอาหาร แพ้ลม หรือแพ้แดด

บางรายอาจพบร่วมกับโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้อื่น ๆ

อาการ

แรกเริ่มจะเกิดเป็นจุดแดงเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายเป็นวงแดงจาง ๆ ขนาด 0.5-3 ซม. มีขุยบาง ๆ ต่อมาสีจะจางลงเป็นวงสีขาว ๆ ลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี ขอบเขตไม่ชัดเจน และมีขุยบาง ๆ โดยมากจะไม่มีอาการคัน

ตำแหน่งที่พบได้บ่อย ได้แก่ บริเวณหน้า (รอบปาก แก้ม หรือหน้าผาก) บางรายอาจพบที่คอ ไหล่ และแขน

วงด่างขาวนี้มักเป็นอยู่นานเป็นแรมเดือนแรมปี หรือเป็น ๆ หาย ๆ จนกระทั่งโตเป็นผู้ใหญ่ก็จะหายไปได้เอง


ภาวะแทรกซ้อน

มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไร นอกจากความรู้สึกกังวลหรืออายที่มีรอยด่างขาวผิดไปจากคนปกติ


การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและสิ่งตรวจพบ

หากไม่แน่ใจอาจทำการตรวจเพิ่มเติมเพื่อแยกจากสาเหตุอื่น เช่น เกลื้อน โรคด่างขาว


การรักษาโดยแพทย์

แพทย์จะให้การรักษาด้วยการใช้ครีมบำรุงผิว หรือทาครีมสเตียรอยด์ เช่น ครีมไตรแอมซิโนโลนอะเซโทไนด์

แนะนำให้ใช้สบู่อ่อน (เช่น สบู่เหลว สบู่เด็ก) ในการล้างทำความสะอาดบริเวณที่เป็น

การดูแลตนเอง

หากสงสัย เช่น มีวงสีขาวตามผิวหนัง ควรปรึกษาแพทย์

เมื่อตรวจพบว่าเป็นกลากน้ำนม ควรดูแลตนเอง ดังนี้

    รักษา ใช้ยา และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ 
    ติดตามรักษากับแพทย์ตามนัด
    หลีกเลี่ยงการซื้อยาที่นอกเหนือจากที่แพทย์หรือเภสัชกรแนะนำมาใช้เอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยาทาประเภทแสบร้อน อาจทำให้หน้าไหม้เกรียม หรือหนังแห้งเป็นผื่นดำได้

ควรกลับไปพบแพทย์ก่อนนัด ถ้ามีลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    ดูแลรักษาแล้วอาการไม่ทุเลาใน 1-2 สัปดาห์ 
    มีอาการลุกลาม หรือกำเริบใหม่
    ขาดยา หรือยาหาย
    ในรายที่แพทย์ให้ยากลับไปใช้ต่อที่บ้าน ใช้ยาแล้วสงสัยเกิดผลข้างเคียงจากยา เช่น มีลมพิษ ผื่นคัน ตุ่มพุพอง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ

การป้องกัน

    ใช้สบู่อ่อน (เช่น สบู่เหลว สบู่เด็ก) ในการล้างทำความสะอาดร่างกาย
    ทาครีมบำรุงผิวอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
    หลีกเลี่ยงการออกกลางแดด ถ้าเลี่ยงไม่ได้ให้ทายากันแดด

ข้อแนะนำ

1. โรคนี้อาจเป็นเรื้อรัง หรือเป็น ๆ หาย ๆ นาน 1-2 ปี แต่ก็ไม่มีอันตรายแต่อย่างใด และไม่ติดต่อให้ผู้อื่น เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่จะหายได้เอง

2. โรคนี้ต่างจากเกลื้อน ตรงที่เกลื้อนจะเกิดขึ้นที่หลัง คอ และหน้าอก และพบมากในคนหนุ่มสาวที่มีเหงื่อออกมาก แต่กลากน้ำนมจะเกิดมากที่ใบหน้าและไหล่ และพบมากในเด็กจนถึงวัยหนุ่มสาว

ถ้าใช้สเตียรอยด์ทาแล้วกลับลุกลามมากขึ้น ก็อาจเป็นเกลื้อน ควรหยุดยา แล้วให้ยารักษาเกลื้อนแทน

3. โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกินนม แต่ที่เรียกว่ากลากน้ำนม เพราะว่ามักจะพบในระยะที่เด็กกินนม และลักษณะเหมือนน้ำนมแห้งติดอยู่ที่แก้ม